กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanisms)

Last updated: 2 Feb 2019  | 

กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanisms)

Mindful Way of Life


        อันนา ฟรอยด์ ซึ่งเป็นบุตรีคนสุดท้องของฟรอยด์ เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่โดดเด่นด้วยผลงานของตัวเอง และเป็นผู้ริเริ่มจิตบำบัดสำหรับเด็ก อันนา ฟรอยด์ต่อยอดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ ‘Ego psychology’ ซึ่งศึกษาพัฒนาการของอีโก้หรือจิตสำนึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่าง Id และ Superego ทำให้เกิดความทุกข์ ความกลัว ความเจ็บปวดหรือความรู้สึกผิดในระดับ Ego นำไปสู่การใช้กลไกในการป้องกันตัวแบบต่างๆ (Defense Mechanisms)

        กลไกในการป้องกันตัว ซึ่งหมายถึงกลไกที่ทำหน้าที่ปกป้อง Ego ซึ่งเกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึกนั้น แม้เป็นเรื่องธรรมชาติที่บุคคลทั่วไปใช้ในชีวิตประจำวันในทุกช่วงอายุ (โดยไม่รู้ตัว) เพื่อหลีกเลี่ยงความทุกข์ความคับข้องใจจากสภาวะที่เจ็บปวดหรือท่วมท้นจนไม่อาจรับมือไหวในระยะสั้น แต่การใช้กลไกในการป้องกันตัวอาจมีผลเสียในระยะยาว กล่าวคือสูญเสียโอกาสที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ซึ่งขัดขวางการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและพัฒนาการไปสู่การมีวุฒิภาวะ (maturity)

        ทั้งอันนา ฟรอยด์และฟรอยด์ผู้เป็นบิดาต่างศึกษากลไกในการป้องกันตัว แต่อันนา ฟรอยด์เป็นผู้ให้คำจำกัดความถึงกลไกในการป้องกันตัวอย่างละเอียดในหนังสือ The Ego and the Mechanisms of Defense โดยอธิบายเกี่ยวกับ concept of signal anxiety ซึ่งสภาวะความกลัวทำหน้าที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มที่ Ego จะตกอยู่ในอันตรายอันเนื่องมากจากความตึงเครียดภายใน จึงต้องมีกลไกปกป้อง Ego ที่ทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เพื่อตอบสนองต่อสภาวะความกลัวดังกล่าว และช่วยขจัดภัยคุกคามให้พ้นไป (ซึ่งรวมถึงสภาวะความกลัวที่จะเผชิญหน้ากับจุดอ่อนและความผิดพลาดของตนเอง)

        อันนา ฟรอยด์ให้ความสำคัญและใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้ากลไกในการป้องกันตัว 5 ประการ ดังนี้

                  ► การเก็บกด (Repression)

                  ► การถดถอย (Regression)

                  ► การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection)

                  ► การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความต้องการที่แท้จริง (Reaction formation)

                  ► การทดแทนในรูปแบบที่สังคมยอมรับ (Sublimation)

 
         นอกจากกลไกในการป้องกันตัวที่อันนา ฟรอยด์ใช้เวลาศึกษามากเป็นพิเศษข้างต้น ก็ยังมีกลไกในการป้องกันตัวแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักและกล่าวถึงโดยทั่วไป ได้แก่
 

 

        กลไกในการป้องกันตัวจึงเป็นวิธีที่บุคคลใช้เพื่อหลบหลีกหรือผลักปัญหาความขัดแย้งออกไปชั่วคราว อาจเรียกได้ว่า เป็น 'การหลอกตัวเอง' โดยไม่เพียงมีลักษณะ ‘ต่อต้าน’ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องอีโก้ไม่ให้ต้องเผชิญกับสภาวะความทุกข์ทางใจด้วย

        อันนา ฟรอยด์ เชื่อว่าคนเราส่วนใหญ่ใช้กลไกในการป้องกันตัวอย่างน้อย 5 แบบในแต่ละวัน แม้เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากใช้มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ทำให้เราเป็นบุคคลที่น่าเบื่อ ดูไม่เป็นผู้ใหญ่ ขาดวุฒิภาวะ มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ไม่ก้าวหน้าในชีวิต หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดโรคทางจิตประสาทได้

        อย่างไรก็ดี การทำให้กลไกเหล่านี้ซึ่งทำงานในระดับจิตไร้สำนึก เป็นที่รับรู้ ก็อาจช่วยให้เรารู้ตัวมากขึ้น ใช้กลไกในการป้องกันตัวน้อยลง หันมาเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่อาจเจ็บปวดได้มากขึ้น และลงมือปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ความมีวุฒิภาวะที่สูงขึ้นได้


รายการอ้างอิง

Stangroom, J. (2018). Psychology: 50 Ideas in 500 words (Rev. ed.). London: Elwin Street Productions Limited.

McLeod, S. A. (2017, May 05). Defense mechanisms. Retrieved from https://www.simplypsychology.org/defense-mechanisms.html

Defense Mechanisms. Retrieved from https://en.wikipedia.org/wiki/Defence_mechanisms

The Essential Guide to Defense Mechanisms: Can you spot your favorite form of self-deception?. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/au/blog/fulfillment-any-age/201110/the-essential-guide-defense-mechanisms

Abwehrmechanismus. Retrieved from https://de.wikipedia.org/wiki/Abwehrmechanismus

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. สืบค้นจาก https://www.dek-d.com/board/view/1402616/

Psychodynamic Theories ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/wingsswagger/3-thvsdi-thangkar-phyabal-sukhphaph-cit/3-1-thvsdi-cit-wikheraah-samphanthphaph-rahwang-bukhkhl-laea-cit-sangkhm

จิตวิทยาสำหรับครู. สืบค้นจาก http://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_1697.html

กลไกในการป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/283791


โดยทีมงาน Six Facets Press

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy